kinetic-energy-news-site

พลังงานจลน์มีลักษณะอย่างไร

พลังงานคำนี้ในทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้หมายถึงพลังงานไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ หรือพลังงานในรูปแบบเหล่านั้นแต่เพียงอย่างเดียว ยังมีพลังงานอีกหลายแบบที่แม้ว่าจะไม่ได้มองเห็นได้โดยตรง แต่มันก็ซ่อนตัวอยู่ในวัตถุซึ่งหนึ่งในพลังงานที่เรารู้จักกันดีเอามาใช้ในชีวิตประจำวันด้วยแต่มองข้ามไปนั่นก็คือ พลังงานจลน์

พลังงานจลน์คืออะไร

พลังงานจลน์นั้น หากเรายึดเอาความหมายทางวิทยาศาสตร์แบบตามตัวอักษรจะหมายความว่า พลังงานที่เกิดขึ้นในวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่อยู่อย่างต่อเนื่อง แปลเป็นไทยอีกที ตีความได้ว่า เมื่อวัตถุเคลื่อนที่จะทำให้เกิดพลังงานต่อวัตถุนั้นด้วย ซึ่งพลังนี้แหละเราเรียกว่า พลังงานจลน์ มีหลักการอะไรน่าสนใจบ้าง

พลังงานจลน์ กับความเร็ว

พลังงานจลน์นั้น การเกิดขึ้นแต่ละครั้งปัจจัยเรื่องของวัตถุ ความเร็วมีความสำคัญอย่างมาก เอาเรื่องวัตถุก่อน หากเราทดลองด้วยการนำรถที่เหมือนกันมาวิ่งด้วยความเร็วต่างกัน คันแรก 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คันที่สอง 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อรถทั้งสองพุ่งเข้าชนกำแพงที่เหมือนกัน ผลปรากฏว่ารถคันที่สองจะเกิดความเสียหายมากกว่าทั้งต่อตัวกำแพง และต่อตัวรถเอง นั่นหมายความว่า วัตถุที่วิ่งด้วยความเร็วมากกว่าจะทำให้มีพลังงานจลน์มากกว่าด้วย (สังเกตได้จากเวลารถชนกับเสา ต้นไม้ หรือบ้านคนข้างถนน จะชนเสียหายหนักมาก ก็เพราะความเร็วที่ทำให้เกิดพลังงานจลน์นี่แหละ

news-site-kinetic-energy

พลังงานจลน์ กับมวล

ปัจจัยที่สองของความแตกต่างพลังงานจลน์ที่เกิดขึ้นในวัตถุเป็นเรื่องของน้ำหนัก หรือ มวล จากตัวอย่างการทดลองที่แล้ว คราวนี้เราเปลี่ยนปัจจัยใหม่ให้รถคันแรกเป็นรถบรรทุก รถคันที่สองเป็นรถยนต์เหมือนเดิม วิ่งด้วยความเร็วเท่ากันที่ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อทั้งสองคันไปชนกำแพงพร้อมกัน จะเกิดอะไรขึ้น คำตอบก็คือ รถยนต์คันแรกที่เป็นรถบรรทุกจะเกิดความเสียหายมากกว่า นั่นเป็นเพราะว่าเกิดพลังงานจลน์มากกว่า สรุปว่าวัตถุที่มวลมากกว่าจะทำให้เกิดพลังงานจลน์ได้มากกว่านั่นเอง

 

การหาค่าพลังงานจลน์

เรารู้จักและเข้าใจพลังงานจลน์กันไปแล้ว มาถึงเรื่องสำคัญของพลังงานจลน์นั่นก็คือ การหาค่าของพลังงานจลน์นักวิทยาศาสตร์ได้สร้างสูตรขึ้นมาเพื่อหาระดับพลังงานจลน์จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยใช้หน่วยวัดว่า จูล สมการดังกล่าวก็คือ พลังงานจลน์ = 1/2 ×มวลของวัตถุ×ความเร็วของวัตถุ2(เมตรต่อวินาที)

พลังงานจลน์ใกล้ตัว

เรื่องของพลังงานจลน์นั้นอาจจะมองว่าเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ที่เราอาจจะไม่ได้สนใจ แต่ความจริงแล้วเรื่องนี้อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด อย่างแรกเลยทำไมเค้าถึงจำกัดความเร็วรถไว้ที่ 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คำตอบก็คือเรื่องพลังงานจลน์นี่แหละความเร็วเท่านี้ได้ผ่านการคำนวณพลังงานจลน์มาแล้วว่าหากเกิดอุบัติเหตุชนก็ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ขับขี่มากนักรวมถึงเป็นความเร็วมาตรฐานที่ผู้ขับขี่ควบคุมได้ด้วย หรืออย่างเล่นฟุตบอลหากต้องการเตะให้แรงก็ต้องวิ่งให้เร็วขึ้นเพื่อเตะได้แรงขึ้น เป็นต้น ไหนไหมว่าพลังงานจลน์อยู่ใกล้ตัวเรานี่เอง

Scroll to top