Water_power

พลังงานน้ำมี ข้อดี ข้อเสีย อย่างไร

พลังงานน้ำเป็นแหล่งพลังงานอีกรูปแบบหนึ่งที่มีความนิยมใช้กันมากขึ้น จากเดิมที่เราเอาพลังงานน้ำมาใช้เพื่อส่งแรงโดยตรงต่อวัตถุ เปลี่ยนมาเป็นการใช้หลักการไหลของน้ำ แรงของน้ำมาเป็นพลังงานไฟฟ้า ผ่านระบบมอเตอร์ไฟฟ้า ที่ทำให้กำเนิดกระแสไฟฟ้า จากนั้นส่งผ่านไปยังระบบเก็บกระแสไฟฟ้า และจ่ายไฟฟ้าในที่สุด ว่าแต่ระบบพลังงานน้ำในลักษณะนี้มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เรามาลองเปรียบเทียบกัน

มลภาวะน้อย

มาว่ากันเรื่องข้อดีกันก่อน อย่างแรกเลยที่พลังงานทำได้ดีกว่า กลุ่มพลังงานแบบอื่นก็คือ พลังงานน้ำนั้นจะทำให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าน้ำเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่แล้วตามธรรมชาติ อีกทั้งการทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าก็เพียงแค่เอาน้ำไปไหลผ่านมอเตอร์เท่านั้น ไม่ได้ทำขั้นตอนกระบวนอะไรเลย ทำให้เกิดมลภาวะน้อยมาก ถือว่าพลังงานน้ำเป็นพลังงานสะอาดรูปแบบหนึ่งด้วยเช่นกัน

การนำกลับมาใช้ใหม่ และความต่อเนื่อง

การจะเลือกใช้พลังงานอะไรเป็นหลักนั้น เรื่องของความเสถียรของระบบจัดว่าสำคัญ การสร้างพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งใดต้องเชื่อมั่นก่อนว่า สิ่งนี้จะตอบสนองเราไปได้ตลอด ไม่ติดขัด พลังงานตอบโจทย์ตรงนี้ อย่างแรกเลยพลังงานเราสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เลย ไม่ต้องกลัวว่าน้ำจะหมด บางแห่งพอน้ำไหลจากที่สูงลงผ่านกังหันไฟฟ้าพลังงานแล้ว น้ำที่ผ่านไปจะถูกเก็บไว้บ่อปลายทางแล้วก็สูบขึ้นมาไว้บนที่สูงเพื่อให้มันไหลผ่านกังหันอีกครั้ง กระบวนการรูปแบบนี้จะทำให้น้ำเกิดการใช้งานอย่างต่อเนื่องมีความเสถียรกว่าและไม่ต้องกลัวว่าจะดึงน้ำจากส่วนอื่นมาใช้

รองรับการใช้งานไฟฟ้าที่สูง

แต่ละวันประเทศไทยเราจะมีช่วงเวลาที่ใช้ไฟฟ้าสูงสุด ซึ่งการจะเตรียมปริมาณไฟฟ้าสำรองเอาไว้ในช่วงเวลาดังกล่าวในแต่ละวันได้นั้น การใช้พลังงานน้ำสร้างกระแสไฟฟ้าคือคำตอบ เนื่องจากพลังงานน้ำสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ปริมาณมากในแต่ละวัน เช่น เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก สามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้มากถึง 779.2 เมกกะวัตต์เลยทีเดียว

แหล่งผลิตพลังงานเฉพาะทาง

มีข้อดีก็ต้องมีข้อเสียกันด้วย พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานน้ำมีข้อเสียอย่างแรกเลยเป็นเรื่องของแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานน้ำนั้น ค่อนข้างจะจำกัด เฉพาะทางมาก ยิ่งหากต้องการแหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ ก็ต้องทำให้เกิดแหล่งน้ำขนาดใหญ่ด้วย อย่างเขื่อน เป็นต้น ทำให้บางครั้งอาจจะต้องตัดต้นไม้ บางส่วนเพื่อปรับสภาพแวดล้อมให้เกิดขึ้น โดยการทำเขื่อนนั้น แม้ว่าจะทำเพื่อรักษาสภาพแวดล้อมก็จริง แต่การทำลายป่าเพื่อสร้างเขื่อนก็คือว่าเป็นสิ่งที่ต้องแลกเปลี่ยนแบบไม่น้อยเหมือนกัน

การลงทุนก่อสร้าง

การสร้างเขื่อนแต่ละแห่ง นอกจากจะต้องสำรวจสภาพพื้นที่ สภาพแวดล้อม หินดินโดยรอบว่าสามารถรองรับน้ำหนักของน้ำได้หรือไม่แล้ว เรื่องเงินลงทุนก็เป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องคิดให้ถ้วนถี่หากต้องการจะสร้างเขื่อนสักแห่งหนึ่ง สร้างเขื่อนแต่ละแห่งใช้เงินลงทุนเยอะมาก ยกตัวอย่าง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ใช้งบประมาณก่อสร้างไปทั้งหมด 23,336 ล้านบาทเลยทีเดียว จึงทำให้การลงทุนแต่ละครั้งต้องมีการวางแผนคำนวณงบประมาณรายจ่ายของรัฐด้วย

ไฟฟ้ากับระบบชลประทาน

การสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำนั้น อีกเรื่องหนึ่งที่คาบเกี่ยวกันอย่างเลี่ยงไม่ได้เลยก็คือ ระบบชลประทาน เพราะบางครั้งเขื่อนอาจจะต้องยอมปล่อยน้ำออกไปเพื่อช่วยเหลือทางด้านเกษตรกรรม(ชลประทาน) นั่นทำให้น้ำอาจจะไม่เพียงพอต่อการทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า ความสมดุลระหว่างเรื่องไฟฟ้า กับ ประปา(ชลประทาน) เป็นสิ่งที่ต้องบริหารให้ดี ยิ่งถ้าหากการผลิตไฟฟ้าจากรูปแบบอื่นสะดุดหรือทำไม่ได้ตามเป้า จนระบบพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานน้ำต้องทำงานมากขึ้นเพื่อทดแทนในส่วนที่ขาดไป อาจจะทำให้ปริมาณน้ำประปาไม่เพียงพอก็เป็นได้

Scroll to top